โดย Thiravat Hemachudha
•
19 May, 2024
ยาที่ได้รับการรับรองในเรื่องความปลอดภัยและหมดสิทธิบัตร ราคาถูกเข้าถึงได้ทั่ว โดยที่ ปรากฏว่ามีสรรพคุณนอกเหนือจากที่เคยรู้กันและนำมาใช้ในบริบทที่ต่างออกไป เป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจ ในการเป็น repurpose drug และอีกทั้งยาพื้นบ้านสมุนไพรไทยและยาแผนตะวันออกรวมทั้งวิธีควบการรักษาอื่นๆควรต้องเปิดใจและ ศึกษาอย่างจริงจังและในที่สุดสามารถร่วมใช้ด้วยกันกับยาแผนปัจจุบันตะวันตก ตัวอย่างเช่นยาฆ่าพยาธิ ยา ไอเวอร์เมคตินตัวนี้ Satoshi ōmura และ William C. Campbell ได้รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและอายุรกรรม ในปี 2015 ในการคันพบ ว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากในการรักษา โรคพยาธิต่างๆและช่วยชีวิตคนในทวีปแอฟริกาได้มากมาย ในช่วงระยะเวลาต่อมามีการศึกษา ฤทธิ์และกลไกของยาตัวนี้ จนกระทั่งได้พบว่ายาตัวนี้มีสรรพคุณในการยับยั้งการติดเชื้อรวมกระทั่งถึงการรักษาการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะที่เป็น กลุ่ม RNA อาทิเช่นไวรัสโควิด จนกระทั่งมีการนำมาใช้ใน หลายทวีป ในประเทศอินเดีย แอฟริกา แม้กระทั่ง ในญี่ปุ่น อังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่อย่างไรก็ตามได้ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงและมีการเซ็นเซอร์รวมทั้งมีการเพิกถอนใบประกอบอาชีพของแพทย์ และองค์กรกลางของสหรัฐ FDA ได้กล่าวดูถูกถากถาง แต่ในที่สุดแพ้คดีต่อศาลสูงสุดของสหรัฐ ให้ลบการประนาม ข้อความในสื่อทั้งหมด ที่ให้ร้ายยาฆ่าพยาธิดังกล่าว และแพทย์ชนะคดี เย็นวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2024 คดีในศาลที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยศาลได้ตัดสินให้ FDA ของสหรัฐอเมริกาซึ่งนำโดย Robert Califf ซึ่งเป็นแพทย์โรคหัวใจ ถอดถอนคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จและทำให้เกิดความเข้าใจผิดทั้งหมดเกี่ยวกับยา ivermectin ยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ตามมาตรฐานชุมชนในการดูแลรักษาโรคโควิด-19 โดยมีประวัติความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมและหลักฐานคุณประโยชน์ในการศึกษาไม่น้อยกว่า 101 รายการ ในช่วงปี 2021 สิ่งที่เรียกว่า"สงครามกับยาไอเวอร์เมกติน" FDA ของสหรัฐอเมริกาได้โพสต์ทวีตอันเป็นเท็จและทำให้เข้าใจผิด และการส่งข้อความสาธารณะเพื่อห้ามปรามแพทย์ เภสัชกร และผู้ป่วยจากการใช้ยา และ ส่งผลให้แพทย์ที่สั่งใช้ถูกสั่งให้ยุติ การทำงาน ถอดถอนใบอนุญาติ และนำมาสู่การฟ้องร้องซึ่ง FDA แพ้ในที่สุด ช่วงเวลาก่อนโควิด ระยะที่มีการระบาด และหลังจากที่การระบาดสงบลงมีความสนใจในกลไกของยาฆ่าพยาธิตัวนี้ที่สามารถออกฤทธิ์ต่อมะเร็งหลายชนิดได้ ทั้งในด้านการระงับการเจริญเติบโต การแพร่กระจาย และยับยั้งการสร้างเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็งต่างๆ ทั้งนี้ยังรวมถึงผ่อนเบา สถานการณ์ดื้อยาของมะเร็งชนิดต่างๆต่อการรักษาและยาเคมีบำบัด และมีการใช้ผสมควบรวมกันทั้งนี้เพื่อควบคุมมะเร็งได้ดีขึ้น กลไกสำคัญที่มีการศึกษาไปแล้วนั้น คือความสามารถที่จะทำให้มะเร็งตายโดยกระบวนการ ที่เรียกว่า programmed cell death autophagy และ pyroptosis โดยผ่านเส้นทางของ PAK1 kinase และอื่นๆ จุดประสงค์ของการศึกษายานี้กับมะเร็งเพื่อช่วยให้เป็นยาประกอบกับยาเคมีบำบัดเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างบทความบางส่วนที่ศึกษายาตัวนี้กับมะเร็ง ชนิดต่างๆเช่น มะเร็งเต้านมโดยเฉพาะในกลุ่มที่เรียกว่า triple negative โดยทีไม่มี estrogen, progesterone receptor และ human epidermal growth factor receptors 2 (HER2) และเป็นมะเร็งที่เติบโตและลุกลามเร็วที่สุด โดยที่ไอเวอร์เมคตินทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม ในระดับเหนือพันธุกรรม (epigenetic regulator) และยังทำให้มะเร็งชนิดนี้กลับมาตอบสนองกับยาปกติ tamoxifen การศึกษาหลายรายงานยังพบว่าไอเวอร์เมคติน ช่วยทำให้เซลล์มะเร็งตายได้ดีขึ้นโดยการปรับสภาวะแวดล้อมของเซลล์มะเร็ง(tumor microenvironment )จากการปล่อย high mobility group box-1 protein (HMGB1) ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางระบบเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์มะเร็ง ในส่วนมะเร็งกระเพาะอาหารพบว่าไอเวอเมคติน สามารถ ยับยั้งการ เติบโตของเซลล์ผ่าน Yes-associated protein 1 (YAP1) และกระบวนการนี้ยังใช้อธิบายผลต่อมะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี และยายังช่วยมะเร็งที่ดื้อ gemcitabine ซึ่งเป็นยาเคมีบำบัดสำหรับรักษา มะเร็งลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดเซลล์ตายในกระบวนการapoptosis จากการขัดขวาง Wnt/beta catenin pathway นอกจากนั้นยังมีผลช่วยในกรณีของมะเร็งของไต (renal cell carcinoma) โดยไม่กระทบต่อเซลล์ปกติทั้งนี้โดยการขัดขวางหน้าที่ของmitochondria ยายังมีส่วนช่วยมะเร็งต่อมลูกหมากโดยที่เพิ่มการออกฤทธิ์ของ ยาต้าน ฮอร์โมนแอนโดเจน enzalutamide และปรับเซลล์มะเร็งที่ดื้อ ยาdocetaxel ให้กลับมาตอบสนองใหม่ มะเร็งของเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย ยาช่วยฆ่ามะเร็ง ในขนาดยาที่ไม่สูง และไม่กระทบเซลล์ปกติ ทั้งนี้โดยการเหนียวนำให้เกิดอนุมูลอิสระ และมีผลส่งเสริมการออกฤทธิ์ของยา cytarabine และ daunorubicin นอกจากนั้นยังมีผลกับมะเร็งชนิดไม่เฉียบพลัน chronic myeloid leukemia และช่วยการทำงานของยา dasatinib ให้ดีขึ้น มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่ ยามีส่วนช่วยในการทำให้ยาเคมีบำบัดออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นเช่นเดียวกัน เนื้องอกสมอง ยามีส่วนช่วยรักษา glioblastoma ผ่านกลไกที่ทำให้เซลล์ตายและยับยั้งการสร้างเส้นเลือดมาเลี้ยงก้อนเนื้องอกและการกระจายของเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามยาไอเวเมคติน ไม่สามารถผ่านผนังกั้นหลอดเลือดกับสมองได้ดี ดังนั้น อาจเป็นข้อจำกัดในการใช้ยานี้กับเนื้องอกในสมองยกเว้นแต่ว่าต้องสามารถเปิดให้มีรูหรือช่องว่างของผนังกั้นนี้ได้อย่างพอเพียงโดยที่ไม่เกิดขึ้นอย่างถาวร มะเร็งในช่วงโพรงจมูกทางด้านหลัง มะเร็งปอด และ มะเร็งร้ายแรงของผิวหนัง melanoma ยาดังกล่าวนี้สามารถช่วยการรักษาที่เป็นมาตรฐานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ลิงค์ที่แนบแสดงถึงการรายงานประสิทธิภาพและกลไกของยา ต่อเนื้องอกมะเร็งแบบต่างๆ เช่น วารสาร Nature 2021 https://www.nature.com/articles/s41523-021-00229-5 วารสารNature 2022 https://www.nature.com/articles/s41419-022-05182-0 และวารสารอื่นๆ https://www.sciencedirect.com/.../pii/S1043661820315152 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7505114/ https://www.frontiersin.org/.../fphar.2021.717529/full https://journals.sagepub.com/.../10.1177/09603271221143693 https://www.mdpi.com/2079-9721/11/1/49 https://www.frontiersin.org/.../fphar.2022.934746/full https://ar.iiarjournals.org/content/39/9/4837 เหล่านี้เป็นตัวอย่างของยาที่มีสรรพคุณมากหลาย นอกเหนือจากที่ค้นพบตั้งแต่ต้น และน่าจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาวการณ์ของสมุนไพรกันชงและกัญชา ที่ครอบครัวของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ารักษาไม่ได้และให้ประคับประคองอย่างเดียวได้นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดทรมานนอนไม่ได้กินไม่ไหว แต่สามารถมีชีวิตอย่างเกือบปกติและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวโดยทุกคนค่อยๆยอมรับ และในที่สุด แม้ผู้ป่วยจะจากไป แต่ไม่ได้ทนทุกข์ทรมาน ทั้งนี้ผู้ป่วยเหล่านี้ต่างได้รับยาแก้ปวดมอร์ฟีนทั้งชนิดกิน ฉีด แต่ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ ในขณะเดียวกันมีผู้ป่วยมะเร็งเป็นจำนวนมากที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันชนิดของมะเร็งรวมกระทั่งถึงระยะลุกลามขั้นสุดท้าย เมื่อได้ยากันชงกัญชา โดยการให้ที่ถูกต้องและเหมาะสม กลับมีชีวิตยืนยาวได้มากกว่าปกติตามที่คาดคะเนจากการรักษาแบบมาตรฐาน ควรหรือไม่ที่จะเริ่มพิจารณาอย่างจริงจังที่จะนำสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งการแพทย์แผนตะวันออกเช่นแพทย์แผนจีน เข้ามาศึกษาและยกระดับความเข้าใจรวมทั้งสามารถระบุปฏิกิริยา รวมทั้งข้อห้ามใช้เมื่อใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ตัวไหนบ้างเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยและเป็นการประหยัดและทำให้ประชาชนคนป่วยเข้าถึงได้อย่างเต็มที่ หมอดื้อ Source: Facebook Thiravat Hemachudha