ตามที่ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ได้ออกคำแนะนำให้ฉีดยาฉีด mRNA ของบริษัทไฟเซอร์ (Comirnaty)ในเด็กและเยาวชน ทั้งที่ยาฉีดพันธุกรรมบำบัด (gene therapy) ดังกล่าวไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อซารส์โควีทู ไม่ช่วยลดอัตราการป่วยหนัก ไม่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในเด็กและเยาวชน และยังมีผลเสียในระยะยาวอีกมากมาย ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ใช่องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญตามชื่อจริงหรือ เข้าใจหลักฮิปโปเครติก FIRST DO NO HARM หรือไม่ ❓
หรือเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนจากบริษัทยา เพื่อสร้างความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว และแสดงให้เห็นว่า ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ เป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญตามอ้างจริง
ขอให้ท่านได้ให้คำตอบกับสังคมในประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
1. อัตราการเสียชีวิต(infection fatality rate) จากโควิดในเด็กกลุ่มอายุ ต่ำกว่าห้าปี ห้าปีถึงสิบสองปี และสิบสองปีถึงสิบแปดปีในประเทศไทยเป็นเช่นไร?
2. ในประเทศไทยมีเด็กที่เสียชีวิต “จาก” โควิดทั้งหมดกี่ราย และเด็กเหล่านั้นมีโรคประจำตัวอื่นใดบ้าง?
3. ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติชนิดที่ติดตัวมาแต่เกิด (innate immunity) ในเด็กปกติเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับในผู้ใหญ่ ภูมิคุ้มกันชนิดดังกล่าวสามารถป้องกันโรคอะไรได้บ้าง?
4. สาเหตุใดที่ทำให้เด็กที่ติดเชื้อซาร์โควีทูมีอาการน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ?
5. เหตุใด ในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พุทธศักราช ๒๕๕๘ จึงบัญญัติให้ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (การฉีดวัคซีน) ทำไปเพื่อมิให้โรคติดต่อแพร่ระบาดออกไป แต่มิได้บัญญัติไว้ว่าเพื่อลดการป่วยหนักหรือการเสียชีวิต?
6. วัคซีนจากเชื้อตาย เมื่อเทียบกับวัคซีนจากเชื้อเป็น วัคซีนชนิดใดสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า?
7. ภูมิคุ้มกันที่เกิดตามธรรมชาติหลังการติดเชื้อมีผลต่อเม็ดเลือดขาวชนิด b lymphocyte และ t lymphocyte อย่างไร?
8. ภูมิคุ้มกัน หรือ antibody ชนิด IgA ต่างจาก IgG อย่างไร และทำไม IgA จึงสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคที่ติดต่อผ่านทางเดินหายใจได้ดีกว่า?
9. ความจำภูมิคุ้มกัน (immune memory) คือ อะไร มีประโยชน์อย่างไร? เหตุใดจึงไม่จำเป็นที่ร่างกายต้องสร้าง antibody ปริมาณมากไว้ตลอดเวลา
10. กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children, MIS-C) เป็นผลจากการมีภูมิคุ้มกันที่มากหรือน้อยเกินไป? กระบวนการรักษากลุ่มอาการอักเสบดังกล่าวทำไมจึงต้องให้การรักษาด้วยสเตียรอยด์ หรือ ยากดภูมิคุ้มกัน
11. การอนุญาตฉุกเฉิน (Emergency use authorization) หรือ การอนุญาตตามประกาศของ อ.ย. เรื่อง การอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค (Conditional Approval for Emergency Use of Medicinal Products) นั้นต่างจากการขึ้นทะเบียนยาตามปกติอย่างไร
12. เงื่อนไขตามประกาศของ อ.ย.ในข้อ
11. มีอย่างไรบ้าง? และปัจจุบันยังเข้าเงื่อนไขตามประกาศนั้นหรือไม่?
13. ประชากรกลุ่มเด็กและเยาวชนที่แข็งแรง เข้าเงื่อนไขตามประกาศฯ ในข้อ11 ข้อ ๓ (๔) (๕) หรือไม่?
14. ในงานวิจัยที่บริษัทไฟเซอร์ ยื่นเพื่อขออนุญาตผลิตภัณฑ์ยา Comirnaty ตามประกาศในข้อ 9 นั้น ได้ทดสอบ/แสดงผลว่า
a) ยาฉีดโคเมอร์เนตี (Comirnaty) สามารถป้องกันการติดเชื้อ สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้หรือไม่?
b) ยาฉีดโคเมอร์เนตี (Comirnaty) สามารถป้องกันการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล ในกลุ่มเด็กและเยาวชนหรือไม่?
c) ยาฉีดโคเมอร์เนตี (Comirnaty) สามารถป้องกันการเสียชีวิตในกลุ่มเด็กและเยาวชนหรือไม่?
d) ยาฉีดโคเมอร์เนตี (Comirnaty) สามารถป้องกันการเกิดกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children, MIS-C) ได้หรือไม่?
15. บริษัทไฟเซอร์ได้ทำการวิจัยเพื่อทดสอบความปลอดภัยของยาฉีดโคเมอร์เนตี (Comirnaty) ในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะผลกระทบในระยะยาว และผลต่อพันธุกรรมมนุษย์หรือไม่? หากมีการทดสอบดังกล่าว ผลการทดสอบเป็นอย่างไร?
16. บริษัทไฟเซอร์ได้ทำการวิจัยเพื่อทดสอบความปลอดภัยของยาฉีดโคเมอร์เนตี (Comirnaty) ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ โดยเฉพาะผลกระทบในระยะยาว และผลต่อพันธุกรรมมนุษย์หรือไม่? หากมีการทดสอบดังกล่าว ผลการทดสอบเป็นอย่างไร?
17. เหตุใดเอกสารกำกับยาของ ยาฉีดโคเมอร์เนตี (Comirnaty) จึงระบุว่า เภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) หรือข้อมูลสำคัญว่า ยาฉีดดังกล่าวไปที่อวัยวะใดบ้างในร่างกายและอยู่ในร่างกายนานแค่ไหน จึง “ไม่เกี่ยวข้อง”?
และเหตุใดผู้ที่อ้างตนว่ามีความเชี่ยวชาญในองค์กรของท่านจึงไม่สนใจที่จะรู้ข้อมูลดังกล่าว?
18. กลไกการทำงานของยาฉีด mRNA ที่แอบอ้างว่าเป็นวัคซีนนั้น มีกลไกการทำงานหรือ เภสัชกลศาสตร์ (pharmacodynamics)อย่างไร?
19. เชื้อไวรัส ซารส์โควีทู (SARS CoV 2) ประกอบด้วยโปรตีนกี่ชนิด และโปรตีนใดของไวรัสเป็นโปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการของโรคโควิด?
20. บริษัทไฟเซอร์เป็นบริษัทเอกชนที่เคยถูกลงโทษปรับในเรื่องใด และต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนเท่าใด?
ผู้เชี่ยวชาญในองค์กรของท่านน่าจะมีความรู้ความสามารถในการอธิบายข้อคำถามดังกล่าวให้สังคมได้รับทราบเพราะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่แพทย์ที่สนใจหาความจริงสามารถตอบได้โดยไม่ยาก
อย่างไรก็ดีเนื่องจากปัญหา ผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจมีในองค์กรของท่าน อาจมีผลให้ท่านไม่ยินดีที่จะตอบข้อคำถามดังกล่าว
ดังนั้นเพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจของท่านและผู้เชี่ยวชาญขององค์กร ท่าน ควรแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ท่านและพรรคพวกได้รับจากบริษัทยาด้วย
อันจะช่วยให้องค์กรของท่านได้รับความเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น
ทางกลุ่มจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์หวังว่าท่านจะดำเนินการแถลงคำตอบของข้อคำถามดังกล่าวข้างต้นภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยทางกลุ่มฯ มีความยินดีที่จะร่วมในการแถลงข่าวดังกล่าวของท่านเพื่อให้กำลังใจท่านและองค์กรในการปฏิบัติตนเป็นแพทย์ที่ดี ยึดหลักจริยธรรม จรรยาบรรณในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตนตามพระปณิธานของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 🙏
“ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์” ต่อไป ☀️
กลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์