Blogopmaak

โควิดความจริงที่ถูกเปิดเผย (ตอนที่ 3)

Thiravat Hemachudha • 3 กุมภาพันธ์ 2567

โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม
่คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในประเทศไทยเองนั้น ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2023 กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ ซึ่งประกอบไปด้วยประชาชนและแพทย์ได้ยื่นหนังสือต่อคณบดีคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ และเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล ให้พิจารณาว่า การร่วมมือกับ EHA เป็นสิ่งที่สมควรกระทำหรือไม่และอาจทำให้ตกเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดข้อหาอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ

ทั้งนี้ ยังได้มีบันทึกก่อนหน้าถึงคณบดีในวันที่ 17 ตุลาคม 2023 เวลา 13.44 น. เลขรับที่ 14113/2566

และในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2023 ทางกลุ่มได้แสดงความขอบคุณ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่แสดงจุดยืนในเรื่องนี้...

สภาคองเกรสสหรัฐฯ ผ่านการแปรญัตติ พิจารณางดการให้ทุนแก่ NIH ในการสร้างไวรัสใหม่ที่อันตราย รายละเอียดสามารถดูได้จากวิดีโอรายงานเรื่องนี้

Fauci ได้ถูกหมายที่ต้องให้การต่อคองเกรส สหรัฐฯ ในวันที่ 7 และ 8 มกราคม 2024 วันละ 7 ชั่วโมง เกี่ยวกับการระบาดโควิด และตามด้วยประชาพิจารณ์ โดยมีข้อสำคัญเรื่องการวางแผนโกหกปกปิดที่มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2020 รวมทั้งโดนเปิดโปงความเชื่อมโยงการให้ทุนกับอู่ฮั่น และการถูกห้ามไม่ให้ทำการสร้างไวรัสใหม่แต่ยังคงทำต่อตั้งแต่ 2018 จนถึงปัจจุบัน

การประชุมขององค์การอนามัยโลกเจนีวา ที่นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้รับเชิญเข้าประชุมในคณะทำงาน STAG (strategic and technology advisory group) วันที่ 23 ถึง 24 พฤศจิกายน 2023 เรื่อง การวางแผนรับมือโรคอุบัติใหม่ แต่ทั้งนี้ยังรวมถึงกระบวนการเซ็นเซอร์ทั้งโลก ทั้งนี้ไม่สามารถให้รายละเอียดได้เนื่องจากสัญญาของการไม่เผยแพร่

ข้อมูลและหลักฐานการเก็บไวรัสใหม่จากค้างคาวและสัตว์ป่าของศูนย์วิทยาศาสตร์ รวมทั้งการที่ไม่ได้ประโยชน์จากการหาไวรัสใหม่และความเสี่ยงอย่างสูงที่จะมีการติดเชื้อในการปฏิบัติการ ได้มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ในวันที่ 10 เมษายน 2023 และแสดงเหตุผลของการยุติความร่วมมือกับสถาบันองค์กรของสหรัฐฯทั้งหมดและ EHA และหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ใช้เวลา 6 เดือนในการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานก่อนตีพิมพ์...

ก่อนหน้าที่จะทำการตีพิมพ์ David Willman นักข่าวที่ได้รับรางวัลพูลิเซอร์ ที่สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งข้อมูลเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบจากคณะบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์แล้ว ได้สอบถามรองคณบดีฝ่ายวิจัยของคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ถึงความเห็นในการสืบเสาะหาไวรัสในค้างคาวโดยที่การศึกษาดังกล่าวถือว่าเป็นการวิจัยที่มีความเสี่ยงสูง...

บทความในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ สามารถอ่านบทความได้ “Pandemic risk” research with exotic viruses risks a deadly outbreak, scientists warn โดยที่บทความนี้ตั้งใจให้ข้อมูลโดยแสดงให้เห็นถึงอันตรายร้ายแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ายังคงปฏิบัติการศึกษาวิจัยแบบนี้อีก

บทความฉบับนี้ยังแสดงหลักฐานการตัดต่อพันธุกรรม สร้างไวรัสใหม่ที่ร้ายแรงเป็นความร่วมมือของ Daszak Baric และ Shi ตั้งแต่ปี 2003 และยังมีโครงการที่เรียกว่า EID search หรือ south east Asian research hub อยู่ภายใต้โครงการที่ครอบคลุมทั้งโลกจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯผ่าน NIH USAID 2018 และทุนเริ่มต้นในปี 2020 และบันทึกโครงการนี้มีการพิสูจน์แล้วว่า สามารถทำให้ไวรัสที่มีอยู่เข้ามายังมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้นและก่อโรคได้มากขึ้น

ทั้งนี้ จากตัวอย่างไวรัสจากค้างคาวที่เก็บไว้และที่เก็บไว้ใหม่ทั้งจากไทย เวียดนาม บอร์เนียว ซาราวัค และแสดงเอกสารที่ยืนยันว่าสามารถสร้างไวรัสใหม่ที่ควบรวมไวรัสโคโรนา สองชนิดและก่อโรคในหนู โดยที่ไม่มียารักษา...

ทุนต่างๆที่สหรัฐฯให้นี้ผ่านมายังทุกทวีป รวมกระทั่งถึงทวีปเอเชียและมีไทยร่วมด้วย

ประเทศในเอเชียที่ได้รับทุนและมีการปฏิบัติการหาไวรัสใหม่จากค้างคาวและสัตว์ป่า มีทั้งไทย เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บังกลาเทศ และอีกหลายประเทศ...

อันตรายที่จะมีการติดเชื้อมีทุกขั้นตอน ตั้งแต่การลงพื้นที่ในบริเวณวัด ในถ้ำ ในป่า ในขณะเก็บตัวอย่าง รวมกระทั่งถึงการขนย้ายตัวอย่างและในการปฏิบัติในห้องแล็บรวมกระทั่งถึงถ้ามีการหลุดรั่วของตัวอย่างไวรัสจากตู้เย็น

ทั้งนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ได้ศึกษาไวรัสในค้างคาวไทย ตั้งแต่ปี 2000 จนถึงปี 2011 ว่า มีไวรัสพิษสุนัขบ้าและมีไวรัสนิป้าห์หรือไม่ในค้างคาวไทย โดยได้ทุนภายในประเทศจาก สกว. และ สวทช. โดยได้รับคำแนะนำในการเก็บตัวอย่างและการศึกษาจาก US CDC และทางศูนย์ทำงานร่วมกับสถานเสาวภา สภากาชาดไทย และกรมป่าไม้ สัตว์ป่า...

ผลการศึกษาพบว่าค้างคาวไทยเป็นค้างคาวโลกเก่า มีไวรัส “คล้าย” ไวรัสพิษสุนัขบ้าและอันตราย และไม่มีวัคซีนตัวใดในโลกป้องกันได้

ไวรัสนิปาห์ก่อให้เกิดโรคระบาดในมาเลเซียในปี 1998 ถึง 1999 จากค้างคาวมายังหมู มีผู้ติดเชื้อ 265 ราย และเสียชีวิต 110 ราย และมีการทำลายหมู 1.2 ล้านตัว และมีความเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 220 ล้านเหรียญ นอกจากนั้น ยังมีการระบาดที่สิงคโปร์และจนกระทั่งถึงอินเดียและบังกลาเทศมาจนถึงปัจจุบัน

โดยที่การประชุมที่อินเดียในปลายปี 2023 นี้ ได้เน้นถึงการป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดโดยให้แหล่งของค้างคาวนั้นเป็นแหล่งห้ามรุกราน ecological protection zone...

การระบาดที่มาเลเซียนั้นทำให้เกิดมีสมองอักเสบ ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบที่หายแล้วปะทุขึ้นมาใหม่ หรือเป็นแบบที่เมื่อได้รับเชื้อแล้วไม่แสดงอาการ แต่มีสมองอักเสบภายหลังเกือบเป็นเวลาสองปี... การระบาดในบังกลาเทศนั้นต่างจากในมาเลเซีย โดยที่มีการติดต่อจากคนสู่คนและมีปอดบวมและมีการแพร่กระจายได้หลายทอด

ในประเทศไทยนั้นค้างคาวไทยสามารถแพร่ไวรัสได้โดยเป็นสายพันธุ์ทั้งมาเลเซียและบังกลาเทศ

ในประเทศฟิลิปปินส์ คนฆ่าและชำแหละเนื้อม้า มีการติดโรคเช่นกันในลักษณะคล้ายไข้หวัดใหญ่และเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากค้างคาว ไวรัสนิปาห์นี้เป็นไวรัสที่อยู่ในรายการด้วย ที่ EHA ต้องการและเพื่อไปสร้างไวรัสใหม่ให้รุนแรงขึ้นอีก

ตั้งแต่ปี 2011 จนกระทั่งถึงปี 2020 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพและศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกได้รับทุนจากสหรัฐฯโดยผ่านกระทรวงกลาโหมและองค์กรต่างๆ โดยมีจุดประสงค์แตกต่างออกไปจากที่เคยทำทั้งนี้ก็คือ การหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าที่เป็นตัวไม่มีชื่อ หรือ novel virus และทำการถอดรหัส เพื่อที่จะได้คาดคะเนว่าตัวใดจะก่อให้เกิดโรคระบาด...

ก่อนที่จะเกิดระบาดโควิดในช่วง 2012 ถึง 2018 นั้น ศูนย์ได้ทำการวิเคราะห์และพิจารณาว่า การหาไวรัสใหม่ดังกล่าวน่าจะไม่ได้ช่วยในการคาดคะเนว่าตัวใดจะเกิดโรคระบาด แม้ว่าทุนที่ได้รับนั้นจะมีขนาดใหญ่ แต่ไม่มีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีชัดเจน และยังมีการให้ทดสอบว่าเครื่องมือในการวินิจฉัยไวรัส ในเวลา 1 ถึง 2 ชั่วโมง สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ (point of need diag nostic) โดยมีการลงในพื้นที่ต่างๆ แต่ในที่สุดหลังจากที่เราแสดงให้เห็นว่าใช้ได้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีการขายสิทธิบัตรไปให้บริษัท เมอริเออร์ และปัจจุบัน มีการขายเครื่องใช้งานในโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทย

จากเหตุผลดังกล่าว ศูนย์ยุติความร่วมมือทั้งหมด เนื่องจากไม่ได้ประโยชน์และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และนอกจากนั้นที่สำคัญที่สุดคือ ในปี 2019 ก่อนการระบาดโควิด ศูนย์ได้รับการทาบทามจาก EcoHealth alliance ให้รับผิดชอบภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ให้มีการส่งไวรัสทั้งที่เก็บไว้และที่จะเก็บใหม่ไปยังต่างประเทศ ที่อู่ฮั่น สิงคโปร์และสหรัฐฯ ทั้งนี้เพื่อมีการสร้างไวรัสใหม่ที่รุนแรงขึ้น ทั้งนี้เจาะจงไวรัสในตระกูลโคโรนา นิปาห์ และไวรัสในตระกูลอีโบลา...

ทั้งนี้ในเวลาที่ผ่านมานั้นศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มีการถอดรหัสพันธุกรรมในห้องแล็บแต่ไม่มีการเพิ่มจำนวนไวรัสอย่างเด็ดขาดและไม่มีการส่งออกนอกประเทศ

ทุนที่ได้รับจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯในช่วงปี 2011 ถึง 2012 นั้นชื่อโครงการ Prophecy หลังจากนั้นได้ผ่านมาทาง USAID ผ่าน EHA ในโครงการชื่อ PREDICT I และ II ระหว่างปี 2012 ถึง 2016 และ 2016 ถึง 2020 ในโครงการแรกนั้นเฉพาะเจาะจงที่ค้างคาว โครงการที่สองนั้นมีการควบรวมในการหาเชื้อจากคนป่วยที่โรงพยาบาลจังหวัดเลยเป็นจำนวน 100 ราย ด้วยวิธีที่ได้จาก USAID ในการหาไวรัสทั้งครอบครัวแต่ไม่ประสบผลสำเร็จว่าดีกว่าวิธีการธรรมดา...

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯยังได้ให้ทุน โดยการผ่านสำนักย่อยต่างๆ จนกระทั่งถึงปี 2020 และมีการเก็บตัวอย่างจากคนป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวน 200 ราย โดยการใช้ พีซีอาร์ต่อเชื้อ 37 ชนิด ที่ชลบุรีและราชบุรีที่มีแหล่งค้างคาวอยู่ แต่ไม่เจอสาเหตุ นอกเหนือจากที่เป็นไวรัสที่ทราบอยู่แล้ว

โครงการที่ได้รับทุนหลังจาก Prophecy มีจำนวนเจ็ดโครงการแต่โครงการในการหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าจบสิ้นในกลางปี 2020 คือวันที่ 14 มิถุนายน 2020 และรายงานการวิจัยในวันที่ 8 กันยายน 2020 และทางศูนย์ไม่ได้รับผิดชอบงานต่างๆทั้งสิ้น หลังจากกลางปี 2020 ไปแล้ว

โครงการยังมีการทำต่อในประเทศไทยที่ไม่ใช่จากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ แต่เป็นภายใต้หน่วยงาน CREID (Center for research emerging infectious diseases) ของ EcoHealth alliance ที่เคยทาบทามศูนย์ของเราให้ส่งไวรัสจากค้างคาวไปยังต่างประเทศเพื่อไปสร้างไวรัสใหม่ที่รุนแรงขึ้น


หมอดื้อ



 Source: Facebook Thiravat Hemachudha

โดย thaipithaksith 15 สิงหาคม 2567
สภากาแฟเวทีชาวบ้าน 14-08-67
โดย thaipithaksith 30 พฤษภาคม 2567
สภากาแฟเวทีชาวบ้าน 30-05-67
โดย Thiravat Hemachudha 27 พฤษภาคม 2567
การแก้ไข IHR และ Pandemic Treaty (Agreement) กฏหมายที่มีผลผูกพัน ข้อตกลงที่ลิดรอนเสรีภาพ เมื่อใดปรากฎ ภาวะผันผวน ทางธรรมชาติและเชื่อมโยงไปถึงการ ผันแปร เชื้อโรคการแพร่ระบาด องค์การอนามัยโลก (WHO) จะกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติ ในกรอบเดียวกัน ทั่วโลก ตั้งแต่การปิดประเทศ ห้ามการเคลื่อนย้าย มาตรการการรักษา การใช้ยา การใช้วัคซีน และที่สำคัญคือ การระบุเด็ดขาดการกระทำใดๆ ที่ผิดเพี้ยน การใช้การรักษาด้วยสมุนไพรหรือยาที่หมดสิทธิบัตรแต่พิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาโรคได้ จะถูกระบุ ว่าเป็น “เท็จ” โดยมีหน่วยงานคอยตรวจสอบติดตามเป็นเรียลไทม์ในสื่อทุกชนิดและการสื่อสารทั่วโลก และทำการดิสเครดิต ผ่านจากองค์การมายังทุกประเทศ โดยที่จะมีการควบคุมสื่อ มี สำนักงาน นานาชาติ และในประเทศไทย ที่เห็นได้ชัดในหลายรายการที่เป็นกระบอกเสียง และ นักวิชาการที่ปฏิบัติตามทั้งนี้ โดยอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน และมีบทความทางวิชาการในวารสารทางการแพทย์ที่ระบุว่าเป็นการศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพ โดยในเวลาที่ผ่านมา สืบค้นพบว่า มีการตัดข้อมูลที่ให้ผลลบต่อผลิตภัณฑ์นั้น ทำให้ดูเสมือนว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมมากถึง 92% เป็นต้นในกรณีของวัคซีน และแม้มี รายงานทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์คัดค้าน จะถูกปิดกั้นไม่ให้ลงตีพิมพ์หรือถอดถอนออกในเวลาต่อมา แต่ความจริงเปิดเผยในปี 2024 ในเรื่องต่างๆเหล่านี้ องค์การต่างๆ เหล่านี้ ตามข้อมูลที่เปิดเผยจากสื่อ ตามพระราชบัญญัติความโปร่งใสของข้อมูล ได้รับทุนสนับสนุนการทำงานจากบริษัทยาและผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องด้วยและในระดับรายบุคคล และถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่กระบวนการต่างๆจะเป็นไปในทางที่ไม่เป็น กลาง ที่เห็นได้ชัด คือการสืบค้นหาต้นตอของโควิด ขององค์การ กลับประกอบด้วยบุคคล ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการสร้างไวรัสใหม่ การให้ทุนข้ามชาติจากประเทศตะวันตกมายังสถาบันวิจัยไวรัส และองค์กรต่างๆรวมทั้งในประเทศไทย และสิงคโปร์ และอู๋ฮั่น จนกระทั่งมีการตัดสินในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ถึงหน่วยงานกลาง EcoHealth alliance ที่เป็นตัวผ่านเงิน จากกระทรวงกลาโหมสหรัฐไปยังประเทศต่างๆ และผู้บงการกลับเป็น DoD DARPA DTRA BTRA หัวหน้า NIH NIAID ผ่านมาทาง CDC USAID ถ้าสนธิสัญญานี้เกิดขึ้น ชะตากรรมของประเทศภาคีทั้งโลก จะถูกแทรกแซงอธิปไตย เพื่อให้องค์การ มีอำนาจพลักดันเบ็ดเสร็จ ในภาวะที่ระบุเป็น pandemic emergency อาทิ บังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ ภาวะใดจึงจะให้สัญญาณบ่งชี้ถึงภัยคุกคาม การตรวจวินิจฉัยต้องใช้วิธีใด จึงจะได้มาตรฐาน วัคซีนชนิดใด ยาชนิดอะไร การรักษาต้องเป็นแบบใด จะรักษากี่วัน และอื่นๆ โดยที่ องค์การอนามัยโลก โดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเองเบ็ดเสร็จ และไม่ต้องรับผิดชอบในกรณีที่เกิดผลร้ายในภายหลังใดๆทั้งสิ้น โดยทั้งหมดนี้จะระบุในสนธิสัญญา หนังสือเดินทางวัคซีน (Vaccine Passport) เป็นตัวอย่างที่สำคัญที่เกิดขึ้นแล้ว และเป็นการบังคับให้ต้องฉีดวัคซีนซ้ำซาก ในขณะที่ประชาชนเป็นจำนวนมากสำเหนียก ถึงผลกระทบที่ตนเองได้รับในวัคซีน แล้วแต่ยังต้องถูกบังคับให้ฉีดใหม่ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเดินทางไปนอกประเทศได้ และในที่สุดประสบผลกระทบซึ่งกลายเป็นความพิการระยะยาว ในสนธิสัญญาจะมีการอัพเกรดให้มี ใบรับรองดิจิทัล (Global Digital Health Certificate) ในการติดตามประวัติทางการแพทย์ของ มนุษย์ และยังให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐ (ทั้งรัฐบาลประเทศของแต่ละบุคคลและรัฐต่างประเทศ)ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่การแยกตัว กักตัว ไปจนถึงการ 'บังคับ' ฉีดวัคซีน ทุกแง่มุมของชีวิตเราจะต้องอยู่ภายใต้มาตรการที่เข้มงวด สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว คือโครงการ CGIP clinical genomic integration platform โดยมีการควบรวมประวัติทางการแพทย์ของคนป่วยทั้งที่เข้าโรงพยาบาลและในพื้นที่ศึกษาที่ประกอบด้วยอาการการตรวจทางเอกซเรย์ทางห้องปฏิบัติการพื้นที่ของการเกิดโรค อาชีพประวัติการศึกษา เศรษฐกิจฐานะ ตัวเชื้อและสายพันธุ์ของเชื้อการรักษาใดได้ผลหรือไม่ได้ผลและลงประมวลข้อมูลในระบบ PACS และส่งตรงไปยังสหรัฐ เพื่อในการวางแผนผลิตยาและเวชภัณฑ์ โดยที่แท้จริงแล้วเป็นการละเมิดความมั่นคงของ ประเทศไทย ที่สุดคือการผลักดันให้มีการสอดแนมและการเซ็นเซอร์จากทั่วโลก ภายใต้หน้ากากของการต่อสู้กับข้อมูลที่ไม่ตรงกับ WHO และ จะถูกประทับตรา เป็น เฟกนิวส์ WHO กำลังให้รัฐบาลทั่วโลกเซ็นตกลง ปิดข้อมูลที่ไม่ตรงกับ WHO และเซ็นเซอร์ข้อมูลใดๆ ที่ขัดแย้งกับเรื่องเล่าของทางการ การปราบปรามเสรีภาพในการพูด โดยจะมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ได้ยิน นั่นก็คือเสียงของ WHO ที่เกิดมาตลอดคือ เบื้องหลัง เครือข่ายแล็บชีวภาพลึกลับ ที่กำลัง ถูกสร้าง จัดตั้งขึ้น ทั่วโลก ในการรวบรวมเชื้อโรคจำนวนมหาศาลอย่างเงียบๆ และทำการทดลองทก่อให้เกิดหายนะสำหรับมนุษยชาติ ไปแล้ว นั่นคือ โควิด และตัวต่อไปคือไข้หวัดนก อีโบลา โควิด นิปาห์ โดยเน้นให้มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมและให้มีการติดต่อทางอากาศได้ ถ้าเราไม่ลุกขึ้น บอกต่อให้คนไทยทุกคน รู้ทัน ทางเราเองและลูกหลานจะไม่มีที่พึ่ง สื่อส่วนใหญ่จะทำอะไรไม่ได้ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นทาสมัน หรือเป็น ไท? หมอดื้อ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬา และหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย (ลาออกในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567) Source: Facebook Thiravat Hemachudha
โดย Thiravat Hemachudha 19 พฤษภาคม 2567
ยาที่ได้รับการรับรองในเรื่องความปลอดภัยและหมดสิทธิบัตร ราคาถูกเข้าถึงได้ทั่ว โดยที่ ปรากฏว่ามีสรรพคุณนอกเหนือจากที่เคยรู้กันและนำมาใช้ในบริบทที่ต่างออกไป เป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจ ในการเป็น repurpose drug และอีกทั้งยาพื้นบ้านสมุนไพรไทยและยาแผนตะวันออกรวมทั้งวิธีควบการรักษาอื่นๆควรต้องเปิดใจและ ศึกษาอย่างจริงจังและในที่สุดสามารถร่วมใช้ด้วยกันกับยาแผนปัจจุบันตะวันตก ตัวอย่างเช่นยาฆ่าพยาธิ ยา ไอเวอร์เมคตินตัวนี้ Satoshi ōmura และ William C. Campbell ได้รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและอายุรกรรม ในปี 2015 ในการคันพบ ว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากในการรักษา โรคพยาธิต่างๆและช่วยชีวิตคนในทวีปแอฟริกาได้มากมาย ในช่วงระยะเวลาต่อมามีการศึกษา ฤทธิ์และกลไกของยาตัวนี้ จนกระทั่งได้พบว่ายาตัวนี้มีสรรพคุณในการยับยั้งการติดเชื้อรวมกระทั่งถึงการรักษาการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะที่เป็น กลุ่ม RNA อาทิเช่นไวรัสโควิด จนกระทั่งมีการนำมาใช้ใน หลายทวีป ในประเทศอินเดีย แอฟริกา แม้กระทั่ง ในญี่ปุ่น อังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่อย่างไรก็ตามได้ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงและมีการเซ็นเซอร์รวมทั้งมีการเพิกถอนใบประกอบอาชีพของแพทย์ และองค์กรกลางของสหรัฐ FDA ได้กล่าวดูถูกถากถาง แต่ในที่สุดแพ้คดีต่อศาลสูงสุดของสหรัฐ ให้ลบการประนาม ข้อความในสื่อทั้งหมด ที่ให้ร้ายยาฆ่าพยาธิดังกล่าว และแพทย์ชนะคดี เย็นวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2024 คดีในศาลที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยศาลได้ตัดสินให้ FDA ของสหรัฐอเมริกาซึ่งนำโดย Robert Califf ซึ่งเป็นแพทย์โรคหัวใจ ถอดถอนคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จและทำให้เกิดความเข้าใจผิดทั้งหมดเกี่ยวกับยา ivermectin ยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ตามมาตรฐานชุมชนในการดูแลรักษาโรคโควิด-19 โดยมีประวัติความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมและหลักฐานคุณประโยชน์ในการศึกษาไม่น้อยกว่า 101 รายการ ในช่วงปี 2021 สิ่งที่เรียกว่า"สงครามกับยาไอเวอร์เมกติน" FDA ของสหรัฐอเมริกาได้โพสต์ทวีตอันเป็นเท็จและทำให้เข้าใจผิด และการส่งข้อความสาธารณะเพื่อห้ามปรามแพทย์ เภสัชกร และผู้ป่วยจากการใช้ยา และ ส่งผลให้แพทย์ที่สั่งใช้ถูกสั่งให้ยุติ การทำงาน ถอดถอนใบอนุญาติ และนำมาสู่การฟ้องร้องซึ่ง FDA แพ้ในที่สุด ช่วงเวลาก่อนโควิด ระยะที่มีการระบาด และหลังจากที่การระบาดสงบลงมีความสนใจในกลไกของยาฆ่าพยาธิตัวนี้ที่สามารถออกฤทธิ์ต่อมะเร็งหลายชนิดได้ ทั้งในด้านการระงับการเจริญเติบโต การแพร่กระจาย และยับยั้งการสร้างเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็งต่างๆ ทั้งนี้ยังรวมถึงผ่อนเบา สถานการณ์ดื้อยาของมะเร็งชนิดต่างๆต่อการรักษาและยาเคมีบำบัด และมีการใช้ผสมควบรวมกันทั้งนี้เพื่อควบคุมมะเร็งได้ดีขึ้น กลไกสำคัญที่มีการศึกษาไปแล้วนั้น คือความสามารถที่จะทำให้มะเร็งตายโดยกระบวนการ ที่เรียกว่า programmed cell death autophagy และ pyroptosis โดยผ่านเส้นทางของ PAK1 kinase และอื่นๆ จุดประสงค์ของการศึกษายานี้กับมะเร็งเพื่อช่วยให้เป็นยาประกอบกับยาเคมีบำบัดเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างบทความบางส่วนที่ศึกษายาตัวนี้กับมะเร็ง ชนิดต่างๆเช่น มะเร็งเต้านมโดยเฉพาะในกลุ่มที่เรียกว่า triple negative โดยทีไม่มี estrogen, progesterone receptor และ human epidermal growth factor receptors 2 (HER2) และเป็นมะเร็งที่เติบโตและลุกลามเร็วที่สุด โดยที่ไอเวอร์เมคตินทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม ในระดับเหนือพันธุกรรม (epigenetic regulator) และยังทำให้มะเร็งชนิดนี้กลับมาตอบสนองกับยาปกติ tamoxifen การศึกษาหลายรายงานยังพบว่าไอเวอร์เมคติน ช่วยทำให้เซลล์มะเร็งตายได้ดีขึ้นโดยการปรับสภาวะแวดล้อมของเซลล์มะเร็ง(tumor microenvironment )จากการปล่อย high mobility group box-1 protein (HMGB1) ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางระบบเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์มะเร็ง ในส่วนมะเร็งกระเพาะอาหารพบว่าไอเวอเมคติน สามารถ ยับยั้งการ เติบโตของเซลล์ผ่าน Yes-associated protein 1 (YAP1) และกระบวนการนี้ยังใช้อธิบายผลต่อมะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี และยายังช่วยมะเร็งที่ดื้อ gemcitabine ซึ่งเป็นยาเคมีบำบัดสำหรับรักษา มะเร็งลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดเซลล์ตายในกระบวนการapoptosis จากการขัดขวาง Wnt/beta catenin pathway นอกจากนั้นยังมีผลช่วยในกรณีของมะเร็งของไต (renal cell carcinoma) โดยไม่กระทบต่อเซลล์ปกติทั้งนี้โดยการขัดขวางหน้าที่ของmitochondria ยายังมีส่วนช่วยมะเร็งต่อมลูกหมากโดยที่เพิ่มการออกฤทธิ์ของ ยาต้าน ฮอร์โมนแอนโดเจน enzalutamide และปรับเซลล์มะเร็งที่ดื้อ ยาdocetaxel ให้กลับมาตอบสนองใหม่ มะเร็งของเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย ยาช่วยฆ่ามะเร็ง ในขนาดยาที่ไม่สูง และไม่กระทบเซลล์ปกติ ทั้งนี้โดยการเหนียวนำให้เกิดอนุมูลอิสระ และมีผลส่งเสริมการออกฤทธิ์ของยา cytarabine และ daunorubicin นอกจากนั้นยังมีผลกับมะเร็งชนิดไม่เฉียบพลัน chronic myeloid leukemia และช่วยการทำงานของยา dasatinib ให้ดีขึ้น มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่ ยามีส่วนช่วยในการทำให้ยาเคมีบำบัดออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นเช่นเดียวกัน เนื้องอกสมอง ยามีส่วนช่วยรักษา glioblastoma ผ่านกลไกที่ทำให้เซลล์ตายและยับยั้งการสร้างเส้นเลือดมาเลี้ยงก้อนเนื้องอกและการกระจายของเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามยาไอเวเมคติน ไม่สามารถผ่านผนังกั้นหลอดเลือดกับสมองได้ดี ดังนั้น อาจเป็นข้อจำกัดในการใช้ยานี้กับเนื้องอกในสมองยกเว้นแต่ว่าต้องสามารถเปิดให้มีรูหรือช่องว่างของผนังกั้นนี้ได้อย่างพอเพียงโดยที่ไม่เกิดขึ้นอย่างถาวร มะเร็งในช่วงโพรงจมูกทางด้านหลัง มะเร็งปอด และ มะเร็งร้ายแรงของผิวหนัง melanoma ยาดังกล่าวนี้สามารถช่วยการรักษาที่เป็นมาตรฐานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ลิงค์ที่แนบแสดงถึงการรายงานประสิทธิภาพและกลไกของยา ต่อเนื้องอกมะเร็งแบบต่างๆ เช่น วารสาร Nature 2021 https://www.nature.com/articles/s41523-021-00229-5 วารสารNature 2022 https://www.nature.com/articles/s41419-022-05182-0 และวารสารอื่นๆ https://www.sciencedirect.com/.../pii/S1043661820315152 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7505114/ https://www.frontiersin.org/.../fphar.2021.717529/full https://journals.sagepub.com/.../10.1177/09603271221143693 https://www.mdpi.com/2079-9721/11/1/49 https://www.frontiersin.org/.../fphar.2022.934746/full https://ar.iiarjournals.org/content/39/9/4837 เหล่านี้เป็นตัวอย่างของยาที่มีสรรพคุณมากหลาย นอกเหนือจากที่ค้นพบตั้งแต่ต้น และน่าจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาวการณ์ของสมุนไพรกันชงและกัญชา ที่ครอบครัวของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ารักษาไม่ได้และให้ประคับประคองอย่างเดียวได้นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดทรมานนอนไม่ได้กินไม่ไหว แต่สามารถมีชีวิตอย่างเกือบปกติและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวโดยทุกคนค่อยๆยอมรับ และในที่สุด แม้ผู้ป่วยจะจากไป แต่ไม่ได้ทนทุกข์ทรมาน ทั้งนี้ผู้ป่วยเหล่านี้ต่างได้รับยาแก้ปวดมอร์ฟีนทั้งชนิดกิน ฉีด แต่ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ ในขณะเดียวกันมีผู้ป่วยมะเร็งเป็นจำนวนมากที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันชนิดของมะเร็งรวมกระทั่งถึงระยะลุกลามขั้นสุดท้าย เมื่อได้ยากันชงกัญชา โดยการให้ที่ถูกต้องและเหมาะสม กลับมีชีวิตยืนยาวได้มากกว่าปกติตามที่คาดคะเนจากการรักษาแบบมาตรฐาน ควรหรือไม่ที่จะเริ่มพิจารณาอย่างจริงจังที่จะนำสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งการแพทย์แผนตะวันออกเช่นแพทย์แผนจีน เข้ามาศึกษาและยกระดับความเข้าใจรวมทั้งสามารถระบุปฏิกิริยา รวมทั้งข้อห้ามใช้เมื่อใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ตัวไหนบ้างเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยและเป็นการประหยัดและทำให้ประชาชนคนป่วยเข้าถึงได้อย่างเต็มที่ หมอดื้อ Source: Facebook Thiravat Hemachudha
โดย Thaipithaksith 7 พฤษภาคม 2567
Live!! คลิปเต็ม4ชม.แฉความจริงอันตรายจากสิ่งที่ฉีดไปแล้วร้ายแรงกว่าที่คิด
โดย thaipithaksith 27 เมษายน 2567
สภากาแฟเวทีชาวบ้าน 25-04-67
โดย Thaipithaksith 11 มีนาคม 2567
ขอให้ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ชี้แจงข้อคำถามต่อไปนี้กับสังคม
โดย Thaipithaksith 8 มีนาคม 2567
เรื่อง ขอข้อมูลข่าวสารของทางราชการเกี่ยวกับมติตามหนังสือที่ พส.๐๑๑/๔๗๘๕
โดย Thaipithaksith 4 มีนาคม 2567
ขอให้ชี้แจงกับสังคมว่ายาฉีด mRNA เป็นวัคซีนหรือพันธุกรรมบำบัด (gene therapy)
โดย Thaipithaksith 3 มีนาคม 2567
ขอให้ปรับปรุงการดำเนินงานของศูนย์ต้านข่าวปลอมและแก้ไขข้อมูลเท็จที่ศูนย์ฯเผยแพร่
โพสเพิ่มเติม
Share by: