จดหมายเปิดผนึกถึงรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่มดี
เรื่อง ขอบพระคุณที่กรุณาเปิดเผยความจริงเรื่อง “สัญญาทาส” ที่กรมควบคุมโรคได้ทำไว้กับบริษัทยา


สิ่งที่ส่งมาด้วย
๑. เอกสารสัญญาที่บริษัทไฟเซอร์ทำไว้กับรัฐบาลประเทศแอฟริกาใต้ (๑)
๒. รายงานวิเคราะห์สัญญาของเอกสารในข้อ ๑. “one sided” (๒)
๓. รายงานข่าวหนังสือพิมพิ์ผู้จัดการออนไลน์พาดหัว “จี้กรมควบคุมโรคเปิดสัญญาซื้อวัคซีนไฟเซอร์ เชื่อโดนหักคอเอาเปรียบเหมือนแอฟริกาใต้” (๓)
ตามที่ท่านมีหนังสือที่ สธ ๐๔๐๒.๗/๕๑๖ เรื่อง ขอให้เปิดเผยสัญญาจัดซื้อวัคซีนโรคโควิด ๑๙ระหว่างรัฐบาล กับ บริษัทไฟเซอร์ จำกัด ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ นั้น ทางกลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ ขอแสดงความขอบคุณที่ท่านช่วยยืนยันว่า ในสัญญาที่กรมควบคุมโรคได้เซ็นไว้กับบริษัทไฟเซอร์นั้น “มีข้อกำหนดในสัญญากำหนดให้คู่สัญญาต้องรักษาข้อมูลไว้เป็นความลับอย่างเคร่งครัด และไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับแก่บุคคลที่สาม” และ “กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ต้องไม่เปิดเผยข้อตกลงเกี่ยวกับการเงิน หรือการชดใช้ค่าเสียหายใดๆที่ปรากฎอยู่ในสัญญาโดยไม่ได้รับความยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากบริษัทไฟเซอร์ จำกัด”
ซึ่งเป็นการยืนยันว่า เป็นสัญญาที่เอาเปรียบและมีเจตนาในการปกปิดข้อมูล เงื่อนไขดังกล่าวนี้มิใช่เงื่อนไข “ตามปกติ” ที่รัฐบาลจะทำกับบริษัทเอกชน และการระบุ “ห้ามไม่ให้เปิดเผยการชดใช้ค่าเสียหายใดๆ” ย่อมเป็นการแสดงว่า บริษัท รู้ล่วงหน้าก่อนการทำสัญญาว่าอาจมี “การชดใช้ค่าเสียหายใดๆ” เกิดขึ้น มิเช่นนั้นคงไม่จำเป็นต้องระบุเงื่อนไขดังกล่าวไว้ในสัญญา การที่ท่านไม่สามารถเปิดเผยสัญญาตามเงื่อนไขที่บริษัทระบุไว้ จึงเป็นการทำตามสัญญาที่ ผู้มีอำนาจลงนามแทนรัฐบาลได้ให้สัญญาไว้กับบริษัทไฟเซอร์
อย่างไรก็ดีปัจจุบันนี้ มีข้อมูลที่พบว่า บริษัทไฟเซอร์ อาจกระทำผิดเงื่อนไขในสัญญา โดยให้ข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโคเมอร์เนตี ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลสาธารณะที่สามารถเข้าถึงได้ทางเว็บไซต์ Public Health and Medical Professionals for Transparency(๔) และสามารถเข้าถึงรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์ Dailyclout(๕)
กระทรวงสาธารณสุข
ในฐานะหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศ จึงต้องดำเนินการตรวจสอบว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พุทธศักราช ๒๕๒๒ และที่สำคัญบริษัทคู่สัญญามีการกระทำที่ผิดเงื่อนไขในสัญญาดังกล่าวหรือไม่ การเพิกเฉยไม่ดำเนินการดังกล่าว อาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา๑๕๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้ (๖)
ทางกลุ่มจึงขอให้ท่านดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนต่อไป
กลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
๑. https://healthjusticeinitiative.org.za/pandemic.../...
๒. https://healthjusticeinitiative.org.za/.../HJI_One-Sided...
๓. https://mgronline.com/qol/detail/9670000012997
๕. https://dailyclout.io/pfizer-and-moderna-reports/
๖. https://www.parliament.go.th/.../parli.../ewt_dl_link.php...

